น้องฉัน..^^

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับ ผิวสวยด้วยชาเขียว

น้ำชาเขียว

ณ ปัจจุบันชาเขียวเรียกได้ว่าได้รับการตอบอย่างดีจากกลุ่มบุคคลหลากหลายวัยเพราะประโยชน์ของชาเขียวไม่ใช่เพียงแค่ดื่มกินแต่เพียงอย่างเดียว ประโยชน์ของชาเขียว ยังช่วยในเรื่องของผิวพรรณและความงามได้อีกด้วยค่ะ ซึ่งถ้าคุณผู้หญิงรู้จักที่จะนำ ประโยชน์ของชาเขียว มาใช้อย่างถูกวิธีล่ะก็คุณย่อมได้ ประโยชน์ของชาเขียว ถึง 2 ต่อด้วยกัน ต่อที่ 1 ในเรื่องของสุขภาพที่ ต่อที่ 2 ได้ผิวพรรณที่สวยงามกลับไปเป็นรางวัลให้กับตัวคุณเองค่ะ และวันนี้เราก็มี เคล็ดลับ "ผิวสวย" ด้วย "ประโยชน์ของชาเขียว" มาฝากกันอีกด้วยค่ะ นั้นเรามาดูกันเลย

ประโยชน์ของชาเขียว "ผิวสวย"


ชาเขียวประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหลักของเซลล์เสื่อมสภาพก่อนวัย) ชาเขียวโดดเด่นด้านสารต้านอนุมูลอิสระยิ่งกว่าชาจีน จากการศึกษาพบว่า ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ภายใน 30 นาทีหลังจากดื่มชาจีนอุ่นๆ และสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะยิ่งคงประสิทธิภาพไปอีก 50 นาทีก่อนจะเข้าสู่ระดับปกติ จึงเริ่มมีการแนะนำให้ดื่มชาเพื่อหวังผลด้านชะลอภาวะแก่ก่อนวัยของเซลล์ในร่างกายและใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์บำรุงเพื่อหวังผลด้านสลายอนุมูลอิสระ คุณเองก็สามารถนำชามาช่วยดูแลผิว 

- ริมฝีปากลอก


ใช้ถุงชาที่ยังอุ่นจางๆ จากการแช่น้ำร้อน เช็ดริมฝีปากที่ลอกเป็นขุย ทาลิปสติกแล้วไม่เรียบเนียนผิวที่เป็นขุยจะหลุดออกอย่างง่ายดาย


- กำจัดผิวหมอง


ส่วนผสมชาเขียว 1 ช้อนชา กลีบดอกดาวเรือง 1 ช้อนชา ขมิ้นชัน 1/2 ช้อนชา ตะไคร้ 1/2 ช้อนชา นำส่วนผสมทั้งหมดปั่นให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันงา 2 ช้อนชา ทาพอกผิวทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาทีแล้ว ค่อยขัดออกเบาๆ ก่อนอาบน้ำ ใช้พอกผิวกายอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง


ประโยชน์ของชาเขียว


- แช่เท้าในน้ำชา


วันไหนรู้สึกเดินจนล้าไปทั้งฝ่าเท้าตักชาเขียว 4 ช้อนโต๊ะหรือจะโยนชาเขียว 5 ซองชงก็ได้ลงในน้ำร้อนทิ้งไว้ให้ชาละลาย 10 นาที ก่อนแช่เท้าลงในน้ำที่กำลังอุ่น 15 นาที เป็นช่วงที่รู้สึกสบายที่สุด ชาจะทำหน้าที่คล้ายโลชั่นกระชับและทำความสะอาดเท้าพร้อมทั้งระงับกลิ่น (บางคนนอนแช่น้ำชาเพื่อระงับกลิ่นตัว)

จากนั้นโยนใบสะระแหน่สุดๆ ลงในน้ำที่แช่เท้า ขยี้ใบสะระแหน่ตามนิ้วเท้ายกเท้าขึ้นจากน้ำแล้วห่อด้วยผ้าเช็ดตัวอุ่นๆ (ที่คุณใช้ไดร์ร้อนเป่าไว้) คืนนั้นคุณจะหลักสบาย


- ปลอบผิวแดดเผา


ผิวตากแดดนานๆ รู้สึกผิวร้อนผ่าวอย่าเพิ่งลงครีมบำรุงผิวเนื้อข้นๆ ขณะนั้นผิวต้องการระบายความร้อนที่ได้รับออก ครีมบำรุงจะไปปิดผิวไม่ให้ความร้อนในเซลล์ระบายออกไม่ต่างอะไรกับอบผิวในเตาอบ

ผสมข้าวโอ๊ตบด 1 ถ้วยลงในน้ำชาเขียวร้อนๆ 1 ถ้วย กับแตงกวาสับละเอียด (ส่วนผสมจะช่วยระงับอาการแดงและอักเสบ) เติมน้ำผึ้งลง 4 ช้อนโต๊ะเพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้นแช่ส่วนผสมดังกล่าวในตู้เย็น 1 ชั่วโมง ก่อนนำมาทาผิวที่ถูกแดดเผาคลุมด้วยผ้าชุบน้ำเย็นๆ 10 นาทีแล้วล้างออก



มาจาก : http://www.n3k.in.th

การปักครอสติช



 1.เช็คจุดกึ่งกลางผ้าและจุดกึ่งกลางลายให้ตรงกัน ตรงนี้ต้องขอเน้นหน่อยนะคะ ว่าต้องตรวจสอบให้ดีก่อนลงมือปักทุกครั้งค่ะ เพราะถ้าเริ่มต้นผิดจะมีผลต่อลายปักได้ค่ะ
        2. เริ่มต้นปักโดยสอดไหมเก็บปลายไว้ทางด้านหลังของผืนลาย ยาวประมาณ 1 ซม. ดังรูป โดยไม่ต้องมัดปม แล้วค่อยสอดเข็มผ่านขึ้นไปด้านหน้าของผ้า เพื่อเริ่มต้นการปัก โดยปักตามแบบในผังลาย
 
        3. การปักต้องปักไขว้ไปทางเดียวกัน ดูวิธีปักตามรูปข้างล่างนี้นะคะ
สำหรับการปักช่องเดียว
  สำหรับการปักต่อกันหลาย ๆ ช่อง
เมื่อปักเสร็จแล้วด้านหลังงานปักจะต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมือนรูปนี้นะคะ

4.เมื่อปักเสร็จแล้วส่วนปลายไหมปักให้สอดเก็บไว้ทางด้านหลัง เหมือนรูปข้าง ๆ นี้ค่ะ โดยเหลือปลายไหมไว้ประมาณ 1 ซม.เหมือนกับตอนเริ่มปักค่ะ และคงจะยังจำกันได้นะคะว่า ห้ามผูกปมไหมเด็ดขาดค่ะ
5. การปักเดินเส้น ส่วนใหญ่จะใช้ไหมน้อยกว่าตอนปักไขว้ 1 เส้นนะคะ ลำดับขั้นของการปักเหมือนรูปข้างล่างนี้ค่ะ
      6. การปักปมฝรั่งเศส ยากที่จะอธิบายด้วยคำพูดนะคะ ดูรูปแล้วทำตามเลยก็แล้วกันนะคะ





กระเป๋าโครเช

    ตัวกระเป๋า 1. เริ่มที่การถักโซ่ธรรมดาค่ะ  ถักไปยาวๆ เลยให้ได้ความยาวของกระเป๋าเท่าที่ต้องการ เสร็จแล้วถักวกกลับค่ะ ในการถักวกกลับนี้เราจะถักโดยใช้โค๊ต F ถักไปจนสุดแถว เราจะได้ก้นกระเป๋าฐานที่ 1 2. เมื่อถักวกกลับมาจนสุดแล้ว  ให้ถักโซ่ขึ้นไป 3 โซค่ะ  เพราะเราจะถักกระเป๋าใบนี้แบบจบแถว 3. เมื่อถักโซ่ขึ้นไปแล้ว 3 โซ่ ให้ทำการถักโค๊ต V โดยการใช้ โค๊ต F ถัก (2F ในหนึ่งช่อง) ถักครอบไปที่ตัว F สุดท้ายของฐาน 1 ที่เราได้ถักจบไปแล้ว ถักไปเลย  4V ทีนี้แถวมันจะแน่นๆ หน่อย ช่างมันค่ะ 4. เมื่อได้ 4V มันจะวนมาถึงช่องแรกของฐาน 1 ตอนนี้ก็ถัก F ไปเรื่อยๆ จนสุด แถวค่ะ 5. เมื่อสุดแถว เราถัก 4V ที่หัวมุมของฐาน 1 อีกครั้ง แล้วต่อด้วย F กลับมาจนสุดแถว 6. เมื่อสุดแถว จะมาจบที่ 3 โซ่ที่เราถักขึ้นไปตอนแรก ตอนนี้ทำการจบแถวค่ะ 7. ทำการขึ้นโซ่ 3 โซ่ แล้ววกกลับไปที่ด้านหัวมุม ถ้าอยากให้กระเป๋ากว้างขึ้น ให้เพิ่มเป็น 8V แต่ถ้าไม่อยากให้กว้างขึ้น ก็ถักเป็น F ไปให้รอบค่ะ พอจบแถว ก็ขึ้นแถวใหม่ ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนได้ ความสูงของกระเป๋าที่ต้องการ 8. จบส่วนของตัวกระเป๋า  แต่อย่าพึ่งตัดไหมนะค่ะ
    ฝากระเป๋า 1. หลังจากที่จบส่วนของตัวกระเป๋า  ทีนี้เราจะมาทำฝาปิดกระเป๋ากันค่ะ (ถ้าขี้เกียจจะไม่ทำก็ได้นะค่ะ ก็ตัดไหมจบงานได้เลย) 2. ขึ้นโซ่ไป 3 โซ่จากไหมเส้นเดิมค่ะ แต่เราจะไม่ถักวนแล้ว เราจะพลิกด้านแล้วถักย้อนกลับไปทางเดิมค่ะ ถักไปให้สุดแถว แต่...ไม่วนรอบนะค่ะ  (อ้อมไม่สามารถบอกได้ว่า ต้องถักไปกี่ห่วง เพราะขนาดของกระเป๋าที่แต่ละคนทำคงไม่เท่ากัน ให้ใช้การกะ และคาดคะเนเอาค่ะ) 3. เราจะได้ฝากระเป๋าแถวที่ 1 แล้ว หลังจากนั้นก็ขึ้นโซ่ไปอีก 3 โซ่ ถักย้อนกลับไปที่เดิมค่ะ 4. เราจะถักไปแบบนี้เรื่อยๆ ระหว่างที่ถัก ก็ลองวัดดูด้วยว่า ฝากระเป๋ายาวพอที่จะมาปิดปากกระเป๋าหรือยัง ใช้วิธีกะเอาล้วนๆ ค่ะ ของอ้อมนี่ จะอยู่ที่ราวๆ 4-5 แถว กะดูด้วย ว่าถ้าเวลาเราใส่ของเข้าไป กระเป๋าจะโป่งขึ้นด้วยนะ 5. หลังจากนั้น เราจะเริ่มการทำให้ขอบของฝากระเป๋ามนค่ะ  โดยการที่เมื่อเราเริ่มขึ้นแถวใหม่ เราจะไม่เริ่มด้วย F แต่เราจะเริ่มด้วย A คือ การลดห่วงของงานนั่นเอง (ถัก A โดยใช้โค๊ต F เหมือนเดิมนะค่ะ กระเป๋าใบนี้ถักด้วย F ล้วนๆ  ป้องกันการสับสนกับการถักตุ๊กตา)
    6. เราจะถักโค๊ต A เฉพาะ 2 ห่วงแรก กับ 2 ห่วงสุดท้ายเท่านั้น  ถักไปอย่างนี้เริ่อยๆ จนได้ความยาวที่ต้องการค่ะ 7. ที่เห็นในรูป อ้อมใส่ลูกปัดไม้ เอาไว้สำหรับปิดกระเป๋าด้วย  ดังนั้น 1 แถว ก่อนแถวสุดท้าย เมื่อเราถัก F มาถึงช่วงประมาณกลางๆ กระเป๋า ให้เราเว้นช่องค่ะ โดยการถักโซ่ไป 5 โซ่ แล้วนับข้ามห่วงไป 5 ห่วงเช่นกัน หลังจากนั้นถัก F ต่อ เราก็จะได้ช่องเอาไว้ใส่ลูกปัดล็อคกระเป๋าแล้วค่ะ 8. ในแถวสุดท้าย เริ่มต้นด้วย A แล้วต่อด้วย F ไปจนตลอดแถว แต่อย่างลืม จบแถวด้วย A อีกนะค่ะ 9. เท่านี้ก็จะเสร็จเป็นตัวกระเป๋าและฝาปิดแล้วค่ะ

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์กร

ที่ใดมีความขัดแย้ง ที่นั่นย่อมมีโอกาสในการพัฒนา แต่ถ้าที่ใดมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ที่นั่นเปรียบกับสมรภูมิรบที่จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปในที่สุด
จากคำกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งเชิงบวกและลบ  ความขัดแย้งในระดับที่พอเหมาะจะช่วยให้เกิดความคิดเห็นใหม่ แต่ถ้ามีความขัดแย้งกันมากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้เช่นกัน

ลองนึกภาพดูว่าถ้าองค์การใดองค์การหนึ่งไม่เคยมีความขัดแย้งกันเลยแม้กระทั่งความคิดเห็น ใครเสนออะไรผู้บริหารคนที่เหลือในห้องประชุมเห็นด้วยและคล้อยตามกันหมด หรือองค์การที่มีผู้นำที่มีอำนาจและบารมีสูงมากอยู่คนหนึ่งที่ทุกคนในห้องประชุมเกรงใจ (ทั้งๆที่คนๆนั้นไม่ใช่กรรมการผู้จัดการหรือซีอีโอเป็นเพียงผู้บริหารงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น)  พูดอะไรทำอะไรออกมาทุกคนเชื่อหมดไม่มีใครกล้าเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง ท่านคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับองค์การลักษณะนี้   

เราจะต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งนั่นก็คือ คนเกิดมาบนพื้นฐานของความแตกต่างทั้งรูปลักษณ์ นามลักษณ์(ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ) และเบื้องหลังการถ่ายทำของชีวิตแต่ละคน (สถานะครอบครัว สถานะทางการเงิน การศึกษา ฯลฯ)  นอกจากนี้ ถ้าเป็นองค์การก็ต้องยอมรับความจริงเพิ่มขึ้นมาอีกข้อหนึ่งคือ การทำงานของแต่ละสายงานย่อมมีความขัดแย้งกันโดยลักษณะงานอยู่แล้ว เช่น ฝ่ายผลิตกับฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายตรวจสอบระบบภายในกับทุกหน่วยงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากจนเกินไป และเป็นกลไกที่จะช่วยให้ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนมั่นใจได้ว่าองค์กรสามารถดูแลและรักษาผลประโยชน์ให้กับเขาได้อย่างเต็มที่ 

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การมีตั้งแต่ระดับพนักงานจนถึงระดับผู้บริหาร มีตั้งแต่เรื่องเล็กๆกระจุ๋มกระจิ๋ม ขี้หมูราขี้หมาแห้งไปจนถึงเรื่องสำคัญๆต่อความอยู่รอดขององค์การ มีตั้งแต่ความขัดแย้งทางความคิดส่วนบุคคล จนไปถึงความขัดแย้งระดับหน่วยงานหรือกลุ่มย่อยๆในองค์การ  

ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะห้ามไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในองค์การ แต่องค์การยังมีทางออกและทางเลือกที่จะช่วยให้ความขัดแย้งอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นพลังได้ ทางเลือกที่ว่านี้ก็คือ การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)”  

ปัญหาความขัดแย้งในองค์การในระดับพนักงานหรือหน่วยงานย่อย ไม่ค่อยยุ่งยากมากนัก เพราะมีผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาอยู่หลายคนหลายระดับ แต่ปัญหาความขัดแย้งที่ถือเป็นปัญหาใหญ่และเป็นที่หนักใจของผู้บริหารระดับสูงของหลายๆองค์การในปัจจุบันคือ ความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์การที่มีตำแหน่งรองๆลงมาจากผู้บริหารระดับสูง เช่น ความขัดแย้งระหว่างรองประธานกรรมการบริหาร(Vice President) หรือระหว่างผู้อำนวยการฝ่าย (Director) ต่างๆ เพราะผู้ที่ขัดแย้งกันไม่ใช่เด็กๆ แต่ละคนล้วนแล้วแต่เขี้ยวลากดิน และจะแก้ไขปัญหาโดยการปลดออกเหมือนพนักงานระดับปฏิบัติก็คงจะยาก เพราะการปลดผู้บริหารคนใดคนหนึ่งออกอาจจะส่งผลกระทบต่อองค์การอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารบางคนที่กุมความลับของบริษัทไว้มาก มีลูกค้าอยู่ในมือ หรือมีเส้นสายเชื่อมต่อกับผู้ถือหุ้นใหญ่ เผลอๆปลดออกก็อาจจะไม่ยอมออกก็ได้ เพราะมีอำนาจต่อรองสูง จึงทำให้ผู้บริหารระดับสูงเกิดอาการกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะไม่สามารถตัดใครออกได้ และไม่สามารถเรียกคู่กรณีมานั่งจับมือกันได้เหมือนกับเด็กที่ทะเลาะกัน  

ในฐานะที่ผมเคยอยู่ เคยเห็น และเคยได้ยินเรื่องความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริหารขององค์การต่างๆ ประกอบกับเคยได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำปัญหาเกี่ยวกับความขัดแย้งให้กับองค์การต่างๆมาบ้าง จะขอนำเสนอแนวคิดและแนวทางในการบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์การดังนี้  

อย่าอินไปกับตัวของปัญหา แต่จงหาสาเหตุ 
อยากให้ผู้บริหารระดับสูงจงมองว่าไม่ว่าปัญหาของคนระดับไหน ย่อมจะมีรูปแบบของความขัดแย้งที่ไม่แตกต่างกัน เช่น ขัดแย้งกันเรื่องความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ ความเชื่อ ขัดแย้งกันเรื่องผลประโยชน์ หรือขัดแย้งกันเรื่องข้อมูลข้อเท็จจริง เมื่อได้ทราบแล้วว่าผู้บริหารแต่ละคู่แต่ละกลุ่มที่ขัดแย้งกันนั้นมีรูปแบบการขัดแย้งกันแบบไหน ก็ค่อยเจาะลึกลงไปดูต่อว่าสาเหตุหรือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่  เช่น ผู้บริหารหลายคนขัดแย้งกันเพราะอีกคนหนึ่งเข้ามาทีหลัง ได้ผลประโยชน์สูงกว่า ดีกว่าตัวเองที่อยู่มานานกว่า อายุมากกว่า (รับไม่ได้) ซึ่งถ้าวิเคราะห์กันจริงๆแล้วจะพบว่าสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้งไม่ได้มาจากนิสัยส่วนบุคคล แต่มาจากระบบการจ่ายผลตอบแทนขององค์การ ที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่มีระบบการสื่อสารที่ดีพอ  ดังนั้น เมื่อไม่ชอบตรงที่เขาได้ผลตอบแทนสูงกว่าแล้ว ก็พาลไปถึงเรื่องความขัดแย้งในเรื่องงาน ขัดแย้งระหว่างหน่วยงานได้เหมือนกัน  

เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้แล้ว ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากต่อการเลือกหรือกำหนดมาตรการในการแก้ไข  เช่น ถ้ามีผู้จัดการคนหนึ่งมีรถประจำตำแหน่ง(ไม่ทราบว่าเพราะอะไร เป็นปัญหาที่เกิดมานานแล้ว) ในขณะที่ผู้จัดการในระดับเดียวกันอีกหลายคนไม่มี  วิธีการที่บางองค์การนำมาใช้คือถ้าผู้จัดการคนที่ได้รถประจำตำแหน่งนั้นมีความสามารถเพียงพอก็เลื่อนตำแหน่งให้ขึ้นไปอยู่ในระดับที่มีรถประจำตำแหน่งก็จบ หรือไม่ก็ต้องยึดรถคืน แต่ถ้าทำอย่างมืออาชีพคือการเสนอทางเลือกให้หลายๆทางเช่น จ่ายเงินชดเชยค่ารถประจำตำแหน่งให้เป็นเงินช่วยเหลือก้อนหนึ่ง หรือจะรวมกับเงินเดือน(แต่ต้องทอนให้น้อยลงก่อนนะครับ) เพราะคนบางคนมีรถส่วนตัวอยู่แล้ว ถ้าได้เงินก็อาจจะอยากขับรถส่วนตัวมากกว่ารถประจำตำแหน่ง ในขณะเดียวกัน การจ่ายเงินชดเชยนั้นจะมีข้อดีตรงที่ว่าถึงแม้ผู้จัดการคนอื่นจะรู้สึกไม่ดีอยู่ก็น่าจะดีกว่าการที่ผู้จัดการคนอื่นๆ เห็นผู้จัดการคนนั้นขับรถประจำตำแหน่งมาเสียดแทงใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนะครับ จงเชื่อว่าคนไทยลืมง่ายนะครับ ถ้าไม่มีหลักฐานมาปรากฏให้เห็นอยู่กับตา  

ยุให้แตก แล้วค่อยประสาน 
ความขัดแย้งของผู้บริหารบางคู่บางกลุ่ม เข้าลักษณะเหมือน ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ เพราะถือว่าผู้บริหารเบอร์หนึ่งจะลงมาห้ามอยู่ประจำ ทะเลาะกันไปเดี๋ยวก็มาคนมาห้ามเอง ผมแนะนำว่าบางครั้งต้องปล่อยให้ทะเลาะกันให้เข็ด ทะเลาะกันจนแย่ก่อนแล้วค่อยลงไปช่วย อาจจะได้ผลเหมือนกันนะครับ เพราะถ้ายังไม่เห็นความเจ็บปวด ยังไม่เห็นความเสียหายขององค์การ ความขัดแย้งก็อาจจะยังคงมีอยู่ต่อไป บางครั้งผู้บริหารอาจจะต้องทำตัวเป็นบางช่างยุเสียบ้าง อาจจะยุเองหรือยุผ่านตัวกลางก็ได้ จนถึงจุดวิกฤติแล้วค่อยเป็นพระเอกขี่ม้าขาวไปช่วย น่าจะดูดีกว่านะครับ  

ใช้สถานการณ์เป็นเครื่องมือ 
ผู้บริหารบางคนขัดแย้งกันเพราะเพียงเหตุการณ์เพียงเล็กน้อย เช่น ทะเลาะกันเรื่องลูกน้อง แต่ด้วยศักดิ์และศรี(ทั้งๆที่กินไม่ได้) ก็ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมก้มหัวให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง ความหมางเมินที่เกิดขึ้นเพียงอารมณ์ชั่ววูบ พอฟอร์มกันไปนานๆก็กลายเป็นความหมางเมินถาวร และถ้าความสัมพันธ์ของผู้บริหารสองคนนี้เปรียบเสมือนเส้นดายที่เชื่อมต่อกันเพียงเส้นเดียวแล้ว เมื่อมีความขัดแย้งกันในงานเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เส้นด้ายที่เหลืออยู่เพียงเส้นเดียว(ไม่เกลียดแต่เฉยๆ) อาจจะขาดลงได้ และทั้งสอยฝ่ายก็จะกลายเป็นคนละฝั่งคนด้านคนละขั้วไปทันที ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะยากต่อการเชื่อมต่อ  

วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้บริหาร บางครั้งจะต้องรอจังหวะ หรือเหตุการณ์บางอย่างเข้ามาช่วย เพราะทำงานอยู่ดีๆ กรรมการผู้จัดการจะเรียกทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่กรณีไปให้มาคืนดีกันคงจะไม่ได้ บางองค์การอาศัยเหตุการณ์ตอนไปทำวอคแเรลลี่ จับทั้งคู่นอนด้วยกัน จับทั้งคู่ทำกิจกรรมร่วมกัน วิธีนี้ก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างก็ต้องประเมินกันเอาเองนะครับ เพราะบางคู่พอรู้ว่าถูกจับคู่ให้อยู่ด้วยกัน ก็อาจจะมีบางคนหนีกลับบ้านไปเลย หรือบางคู่อาจจะยิ่งมีเรื่องทะเลาะกันมากขึ้นก็ได้ สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำคือการอาศัยจังหวะที่คู่กรณีคนใดคนหนึ่งประสบความยากลำบากในชีวิต เช่น สูญเสียบุคคลที่รัก เจ็บป่วย ฯลฯ แล้วเราในฐานะผู้บริหารในระดับสูงอาจจะชวนกรณีไปเยี่ยม ไปร่วมงานศพญาติของอีกคนหนึ่ง หรืออาจจะมอบหมายให้กรณีไปเป็นตัวแทนบริษัททำหน้าที่แทนผู้บริหารระดับสูงก็ได้ เราต้องไม่ลืมว่าคนจะเปิดใจรับสิ่งต่างๆก็ต่อเมื่อชีวิตตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ ในขณะเดียวกันคนเราจะลดทิฐิก็ต่อเมื่อเห็นผู้อื่นลำบากไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจ  

เทคนิคการสลายพลัง 
บางครั้งความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารเพียงสองคนอาจจะลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างทีมผู้บริหารกับคนบางคนหรือระหว่างสองทีมขึ้นไป พูดง่ายๆคือใครทีขัดแย้งกับคนอื่นก็มักจะหาพวกมาอยู่ฝ่ายเดียวกับตนเองให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ตัวเองดูดี ใครที่เป็นหัวเดียวกระเทียมลีบก็แย่หน่อย เช่น ผู้บริหารสายโรงงานรวมหัวกันไม่ชอบผู้บริหารของสายงานบัญชี  เวลาอยู่ในห้องประชุมผู้บริหารสายงานบัญชีก็มักจะโดนรุมสกรัมทางคำพูดอยู่คนเดียว  

วิธีการหรือแนวทางในการบริหารความขัดแย้งอย่างหนึ่งที่อาจจะนำมาใช้ได้ผลกับกรณีที่มีความขัดแย้งเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มคือ การสลายพลังความขัดแย้งจากคนแต่ละคน โดยเริ่มจากคนที่ไม่ได้ขัดแย้งแต่ทำตัวอยู่ฝ่ายเดียวกับอีกฝ่ายหนึ่ง ถือเป็นยุทธการการรบแบบกองโจร เช่น ชวนผู้บริหารที่เป็นสมาชิกของอีกฝ่ายหนึ่งไปทำงานต่างจังหวัด ทานข้าว ประชุมกับชาวต่างชาติ ฯลฯ ร่วมกับผู้บริหารอีกฝ่ายหนึ่ง (กรุณานำมาครั้งคนนะครับ อย่านำมานั่งพร้อมๆกันหลายๆคนเพราะจะห้ามพลังกลุ่มไม่ไหว) ทำให้ทั้งสองคนซึ่งไม่ได้เป็นคู่อริโดยตรงเริ่มมีการพูดคุยร่วมกิจกรรมกันมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารที่เป็นสมาชิกของอีกฝ่ายหนึ่งเริ่มยอมรับผู้บริหารฝ่ายตรงกันข้ามมากยิ่งขึ้น ใช้วิธีนี้ค่อยๆเก็บไปทีละคนๆ สุดท้ายพลังร่วมของความขัดแย้งก็จะถูกสลายให้เหลือน้อยลงได้ครับ  

ทำหน้าที่เป็นเบรกเมื่ออุณหภูมิเริ่มสูง 
ความขัดแข้งบางเรื่องบางกลุ่มบุคคลเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยให้เห็นมุมมองในเรื่องเดียวกันทั้งสองด้านเสมอ (เพราะคู่กรณีมักจะพยายามมองคนละด้านกับอีกฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว) ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่เพียงคอยแตะเบรคในกรณีที่เริ่มมีความรุนแรงของความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ส่วนความขัดแย้งในระดับปกติก็ปล่อยไปให้เป็นธรรมชาติของมันเอง ที่ประชุมจะได้มีรสชาติมากขึ้น ครั้งนี้อาจจะเห็นด้วยกับความคิดของฝ่ายหนึ่ง ครั้งต่อไปก็อาจจะเห็นด้วยกับความคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างนี้ก็อยู่กันได้นาน  

ยืมมือที่สาม 
บางครั้งผู้บริหารซึ่งถือเป็นคนในครอบครัวเดียวกันจะขาดความน่าเชื่อถือจากคู่กรณี เพราะแต่ละฝ่ายก็มักจะคิดว่าผู้บริหารระดับสูงเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บริหารอาจจะต้องขอยืมมือบุคคลภายนอกที่เราเรียกว่าเป็นที่ปรึกษาให้เข้ามาช่วยบริหารความขัดแย้งแทนก็ได้ เนื่องจากคนภายนอกไม่รู้ว่าใครขัดแย้งกับใคร ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับทั้งสองฝ่ายเท่าๆกัน คู่กรณีก็อาจจะไว้ใจมากกว่า ที่ปรึกษาที่ว่านี้ถ้าเป็นนักจิตวิทยาได้ยิ่งดีหรือที่ปรึกษาที่มีจิตวิทยาสูงหน่อยก็จะได้ผลมากยิ่งขึ้น เพราะแรกๆทั้งสองฝ่ายก็จะสาดโคลนใส่กันผ่านบุคคลที่สาม เมื่อโคลนหมดก็อาจจะเป็นโอกาสที่จะโน้มน้าวให้ทั้งคู่หันหน้าเข้าหากันมากขึ้น ข้อดีของที่ปรึกษาคือไม่ได้อยู่ในองค์การตลอดเวลาจึงไม่มีโอกาสสร้างผลกระทบเชิงลบต่อคู่กรณีได้ ดังนั้น ที่ปรึกษาจึงมีแต่คะแนนบวกอยู่ในใจของทั้งสองฝ่าย  

ทำการตลาดกับคนรอบข้าง 
การบริหารผู้บริหารบางครั้งบางคนทำได้ยาก เพราะคนเหล่านี้ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากจนไม่สามารถใช้กลยุทธ์ใดๆจัดการกับเขาได้เลย แต่ต้องไม่ลืมว่าคนเราทุกคนย่อมมีจุดอ่อนในชีวิต ในเมื่อหาจุดอ่อนในชีวิตการทำงานไม่เจอ ก็ต้องขยายวงกว้างออกไปหาจุดอ่อนที่คนรอบข้างโดยเฉพาะคนในครอบครัว ผู้บริหารบางคนรักลูกมาก บางคนรักคู่สมรสมาก บางคนรักบุพการีมาก บางคนกลัวภรรยา(ผู้บริหารสุภาพบุรุษเฉพาะในที่ทำงาน)   

เราจะเห็นว่าสินค้าบางตัวไม่ได้ยิงโฆษณาโดยตรงไปที่ตัวสินค้าหรือตัวลูกค้า แต่เป็นการสร้างกระแสตลาด เป็นการสร้างค่านิยมของคนรอบข้าง อย่างนี้เราเรียกว่าเป็นการทำการตลาดแบบกระทบชิ่ง โดยใช้กระแสเป็นตัวสร้างความอยากให้กับลูกค้าเพื่อวิ่งมาหาสินค้าตัวนั้นๆ เช่น โฆษณาว่าสมุนไพรดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ โดยที่ไม่ต้องบอกเลยว่าบริษัทเราขายสมุนไพรอะไร แต่ถ้าคนมีความห่วงใยตัวเองมากขึ้น เห็นความสำคัญของสมุนไพรมากขึ้น แน่นอนว่าผลสุดท้ายก็จะกลับมาที่ตัวสินค้าอย่างแน่นอน  

ดังนั้น ถ้าจะบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารภายในองค์การอาจจะต้องมองกว้างและมองไกลออกไปสู่ชีวิตของผู้บริหารที่อยู่ภายนอกองค์การ ผสมผสานกับกลยุทธ์การตลาด โดยการทำการตลาดกับครอบครัวของผู้บริหารที่มีความขัดแย้งกัน เช่น มีการนำสมาชิกของครอบครัวผู้บริหาร(ไม่ต้องให้ผู้บริหารเข้าร่วมก่อนในช่วงแรก)มาทำกิจกรรมร่วมกัน โอกาสที่สมาชิกหลังบ้านของผู้บริหารที่เป็นคู่กรณีกันจะทำความรู้จักสนิทสนมกันก็มีมากขึ้น ถ้าคิดว่าคู่สมรสอาจจะยากเพราะนอนฟังแฟนเล่าถึงคู่อริให้ฟังอยู่บ่อยๆ ก็อาจจะเลือกไปทำการตลาดที่ลูกของทั้งสองฝ่ายก่อนก็ได้ เพราะรับรองได้ว่าผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่คงจะยังไม่เล่าเรื่องคู่อริในที่ทำงานให้ลูกฟังอย่างแน่นอน เมื่อลูกใกล้ชิดกัน ต่อไปก็อาจจะดึงสมาชิกคนอื่นๆที่เหลือในครอบครัวมาทำกิจกรรมร่วมกัน จนที่บ้านเป็นพวกเดียวกันแล้ว ค่อยวกกลับมาถึงคู่กรณีตัวจริงในภายหลัง  

สรุป ถึงแม้ว่าความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์การไม่สามารถห้ามไม่ให้เกิดขึ้นได้  แต่เราสามารถบริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้สร้างพลังไปในทิศทางที่ต้องการได้ สามารถควบคุมระดับของความขัดแย้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ดังนั้น ผมเชื่อว่าจากแนวทางและตัวอย่างที่ได้เขียนมาทั้งหมดนี้น่าจะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่กำลังประสบปัญหาทีมงานผู้บริหารมีความขัดแย้งกันอยู่ เกิดแนวคิดและสามารถกำหนดแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารความขัดแย้งในองค์การของท่านได้บ้างนะครับ

เขียนโดย..ณรงค์วิทย์ แสนทอง
วิทยากร ที่ปรึกษา และนักเขียนอิสระ
www.peoplevalue.co.th

ลักษณะการบริหารของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

เมื่อมองภาพรวมทางการบริหารของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง จะมีความคล้ายกันในหลายเรื่อง ซึ่งสามารถแยกเป็นสองลักษณะใหญ่ ดังนี้

ลักษณะแรก- การบริหารคน

การจ้างงาน มีลักษณะเป็นครั้งคราวแล้วแต่เจ้าของหรือผู้บริหาร มีทั้งที่จ้างเพราะความจำเป็นและไม่จำเป็น ไม่มีแผนการจ้างพนักงานที่แน่นอน การรับญาติพี่น้องคนใกล้ชิดเข้าทำงานมักจะเป็นเรื่องสามัญธรรมดา และบ่อยครั้งที่การรับคนเข้าทำงาน เพราะความเกรงอกเกรงใจเพื่อนฝูง ขณะเดียวกันเจ้าของหรือผู้บริหาร จะเกิดความภาคภูมิใจว่า ตนเองมีบุญมีคุณที่ทำให้คนอื่นมีงานทำ เมื่อพนักงานโต้แย้งหรือมีปฏิกริยา เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารประเภทนี้ จึงเจ็บปวดและมองว่าพนักงานเป็นผู้เนรคุณ
นอกจากไม่มีแผนงานที่แน่นอนในการจ้างงานแล้ว ยังมีลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ อยากได้คนดีๆ แต่จ่ายเงินเดือนน้อยๆ ซึ่งในทางปฏิบัติจริงๆ แล้ว เป็นไปได้ยาก ดังนั้น คุณภาพของคนจึงเป็นไปตามสภาพของเงินเดือน
ขณะเดียวกัน เมื่อมีการเลื่อนตำแหน่ง ญาติพี่น้องหรือคนใกล้ขชิดมักจะได้รับการพิจารณาก่อนเป็นผลให้พนักงานมองไม่เห็นความก้าวหน้าของตน
มีคนโปรด ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ การมีคนโปรดที่จะเรียกใช้ให้ทำงานได้ทุกเมื่อและทุกงาน คนโปรดเหล่านี้จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ และมักจะได้ดิบได้ดี หรือดีเกินหน้า คนอื่นๆ ในองค์การ ทั้งๆ ที่งานที่อยู่ในความรับผิดชอบไม่ได้ทำหรือมีผลงานไม่มากเลยก็ตาม
นักธุรกิจรายหนึ่งซึ่งปัจจุบันเก็บเนื้อเก็บตัวหายไปจากวงการ เป็นคนชอบเล่นพระเครื่อง คนใกล้ชิดจึงทำหน้าที่ในการเสาะแสวงหาพระเครื่องจากกรุต่างๆ ให้ คนโปรดคนนั้นจึงได้เงินและรางวัลเป็นกอบเป็นกำ โดยไม่ต้องทำงานของตัวเองเลย
คนโปรดจึงเป็นตัวการทำลายขวัญและกำลังใจของพนักงานและบางครั้งคนโปรดคือผู้ที่คอยป้อนข่าวบ้าๆ บอๆ ต่างๆ ซึ่งมักเป็นข่าวที่คนโปรดอ้างว่าลับ เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารมักจะสนใจกับข่าวประเภทนี้ และมองไปว่าคนโปรดของตนเก่งมากในด้านการข่าว ผลจากความเชื่อนี้ทำให้พนักงานหนาวๆ ร้อนๆ และเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร จะไม่ค่อยให้ความไว้วางใจใคร ( นอกจากเครือญาติ) ในองค์การ
การพัฒนาพนักงานเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยและเกินความจำเป็น ความคิดที่จะให้พนักงานได้ความรู้หรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากขึ้น เพื่อทำให้งานดีขี้นเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็น เพราะกลัวว่าหากสอนให้เก่งแล้ว พนักงานจะลาออก ทางที่ดีให้รู้น้อยๆ เพื่อจะได้ทำงานไปนานๆ และจ่ายค่าจ้างถูกๆ

ลักษณะที่สอง- การบริหารงาน

เป็นยอดมนุษย์ (SUPERMAN)
ยาขอบกล่าวไว้ว่า “ แต่คนเรานั้น ถึงจะฉลาดปราดเปรื่องในกิจการต่างๆ สักเพียงใดก็ตาม แต่จะฉลาดปราดเปรื่องไปเสียทุกทางนั้นย่อมยากจะเป็นไปได้”
เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่จะเป็นผู้ลงมือดำเนินการเองในทุกๆ เรื่องพร้อมกันที่พยายามให้พนักงานคนอื่นๆ ทำงานให้ได้ผลงานมากๆ ด้วย
ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนในการพิจารณาและดำเนินการเรื่องต่างๆ
ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นเกณฑ์ ผลการพิจารณาที่ออกมาในแต่ละเรื่อง จึงไม่แน่นอน ผู้ปฏิบัติงานไม่เคยแน่ใจว่า ในแต่ละเรื่องควรดำเนินการอย่างไร พูดกันให้ชัดคือ การพิจารณาในทุกๆ เรื่องขึ้นอยู่กับความพอใจของเจ้าของหรือผู้บริหารสูงสุด
ผูกขาดอำนาจ
เมื่อไม่มีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาแต่ละเรื่อง เรื่องราวต่างๆ จึงต้องนำเสนอเพื่อการพิจารณาอนุมัติ พนักงานทุกๆ ระดับเป็นเพียงผู้รอรับคำสั่ง ทำให้ขาดความคิดริเริ่ม ทำให้เจ้าของหรือผู้บริหารซึ่งเชื่อมั่นว่า ความคิดเห็นของตนถูกต้อง และมองว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีหัวคิด การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบมีน้อยหรือแทบจะไม่มี
สนใจแต่ผลงานและกำไร
ปริมาณงาน การควบคุมรายจ่าย การเพิ่มรายได้ หรือแสวงหากำไร เป็นสิ่งที่จะต้องให้ความสนใจในลำดับแรก ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทแห่งหนึ่ง สั่งให้ปิดไฟนีออนในห้องน้ำ เพียงเพราะว่าต้องการลดค่าใช้จ่าย
ด้วยเหตุนี้ ความรู้สึกหรือความเป็นอยู่ของพนักงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน จึงมักเป็นเรื่องที่ถูกลืม และไม่สนใจ สวัสดิการพนักงาน “ พูดกันทีหลัง”
สวัสดิการต่างๆ เท่าที่มีอยู่ก็เพราะกฎหมายกำหนด หากพนักงานคนไหนที่คิดว่าสวัสดิการที่อื่นดีกว่า เจ้าของหรือผู้บริหารมักจะพูดว่า “ ก็ลาออกไปซิ” ระเบียบการต่างๆ ด้านสวัสดิการ พนักงานจะได้รับความสนใจเฉพาะในเรื่องของการควบคุมค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
มีนายหลายคน
พนักงานแต่ละคนจะมีหลายนาย ทั้งนายโดยตรงและนายทางอ้อม การสั่งงานจะปนเปจนพนักงานไม่ทราบว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของนายคนใด
เจ้าอารมณ์
เนื่องจากเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารดำเนินงานทุกอย่างด้วยตนเอง จึงต้องพบกับปัญหาขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง โอกาสในการวางแผนงานจึงแทบจะไม่มี เวลาแต่ละวันจะหมดไปกับเรื่องจู้จี้จุกจิกอารมณ์ จึงมักจะพลุ่งพล่านหรือหงุดหงิดอยู่เสมอ ร้อยละ 90 ของผู้บริหารงานในลักษณะนี้จะไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาในระดับล่างๆ กล้าเข้าใกล้
จากลักษณะการบริหารงานข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า เป็นความผิดพลาดในเรื่องของการบริหารคน
ดังนั้น หากจะสรุปว่า สถานประกอบการขนาดเล็กและกลางจำนวนไม่น้อยที่บริหารโดยเจ้าของกิจการคนเดียว ( หรือหลายๆ คนก็ตาม) มีปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล ก็เห็นจะไม่เกินเลยความจริงจนเกินไป


ที่มา: http://www.moodythai.com/new/article/HR/human_resource.htm#1

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การบริหารทรัพยากรในองค์กร


การบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning ย่อ ERP) หมายถึง การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะลดขั้นตอนใน Supply Chain จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการการผลิตดังนี้
  • การพัฒนารูปแบบของการดำเนินงานในโรงงาน
    • โดยจะมีการนำเอา e-Manufacturing เข้ามาใช้ในโรงงานนั้นจะช่วยในเรื่องของการผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ในคงคลัง, จัดมาตรฐานของหน้าบ้าน และการจัดการบำรุงรักษาเครื่องจักร มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
  • การนำเอาอินเทอร์เน็ตมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
อินเทอร์เน็ตนั้นได้เข้ามามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้า ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อของได้เพียงปลายนิ้วคลิก และยังสามารถเลือกรูปแบบตามความต้องการได้ นอกจากเป็นเครื่องมือในการซื้อและแหล่งข้อมูลที่สำคัญ แล้วนั้นยังทำให้ธุรกิจนั้นเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วด้วย สำหรับผู้ผลิตแล้วการที่มี e-Business อย่างเดียวนั้นคงจะไม่สามารถทำงานได้ดีหากปราศจากโซ่อุปทานที่เป็นมืออาชีพและสินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อที่จะผลิตสินค้าให้เป็นที่พอใจของลูกค้า การที่มีสินค้าเพียงเก็บไว้ในคงคลังนั้นคงไม่พอแล้ว สำหรับตลาดที่มีการแข่งขันสูงในตอนนี้
  • กลยุทธ์ในการนำความขัดแย้งออกจากวิสาหกิจ
ลักษณะของกลยุทธ์ทาง e-Manufacturing เป็นอย่างไร ลองดูเรื่องสั้นนี้ที่จะช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของลิมิตสวิตช์ (Limit Switch) ซึ่งเป็นเพียงแค่สวิตช์ปิดเปิดธรรมดาที่มีแขนยื่นออกมา ตัวลิมิตสวิตช์ จะอยู่ติดบนสายพาน ในแต่ละครั้งที่วัตถุมาบนสายพาน มันจะผลักตัวแขนออกไปทางหนึ่งซึ่งหมายถึงสวิตช์กำลัง เปิด อยู่ และเมื่อกล่องผ่านไปตัวแทนก็จะตีกลับมาที่เดิม

ที่่มา : http://th.wikipedia.org

การจัดการเทคโนโลยี

การจัดการเทคโนโลยี (Management  of  Technology) โดย  นางสาวสมสุข  แขมคำความสำคัญของการจัดการเทคโนโลยี  ในอดีตผู้บริหารมักให้ความสำคัญกับการบริหารการตลาด  การบริหารการเงิน  การบริหารงาน  การบริหารบุคลากร  ฯลฯ  แต่ปัจจุบันเริ่มมีการกล่าวถึงการบริหารเทคโนโลยีมากขึ้นนั้น  เพราะเนื่องมาจากในสภาวะปัจจุบัน  เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดสภาวะวิกฤต  สถานภาพทางการเงินของทุกองค์กรประสบปัญหา  ไม่สามารถจัดเทคโนโลยีใหม่เพื่อนำมาใช้ในองค์กรได้  จึงเกิดแนวคิดที่ว่า  ทำอย่างไรที่จะทำให้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในองค์กร  เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด                การจัดการเทคโนโลยีมีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะในโลกแห่งการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่แสวงหากำไรหรือไม่แสวงหากำไร  เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีท่านจะเห็นได้ว่ารอบตัวของเราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างแยกจากกันไม่ออก  ลองมองดูรอบตัวของเราเริ่มจากที่ทำงาน เช่น การใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณ  การใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์  โทรสาร อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ  รวมทั้งการโดยสารลิฟท์จากชั้นหนึ่งไปอีกชั้นหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานในองค์กทั้งสิ้  แต่อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญในการบริหารเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และคุ้มค่ากับการลงทุน                นอกจากนั้นการจัดการเทคโนโลยี  ยังเป็นพื้นฐานและปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์  และเป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา  ซึ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญ  สามารถสร้างนวัตกรรม(Innovation) ขึ้น  ได้แก่  การเรียนรู้ การผลิตและการใช้  ก่อให้เกิดผลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  สิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมให้สังคมโลกที่เรียบง่าย  กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้นในโลกแห่งความไร้พรมแดน  หรือกระแสโลกาภิวัตน์  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งมีการผสมผสานศาสตร์ทั้ง4  ศาสตร์เข้าด้วยกัน  ได้แก่  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีโทรคมนาคม สารสนเทศศาสตร์ การจัดการ  ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกเวลา การลงทุนค้าขาย  และธุรกรรมการเงินได้อย่างรวดเร็ว  ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำให้โลกใบนี้ “ เล็กลง  ทุกขณ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีในฐานะผู้ผลิตและผู้ใช้   สิ่งสำคัญคือเมื่อมีเทคโนโลยีแล้วจึงต้องมีการจัดการ  ท่านจะบริหารอย่างไรให้เทคโนโลยีเหล่านั้นเกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุน  ความหมายของการจัดการเทคโนโลยี ตรีทศ เหล่าศิริหงส์ทอง ( 2548,หน้า64)  กล่าวว่าสภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกาได้นิยามการจัดการเทคโนโลยีว่าเป็นตัวเชื่อมโยงศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์  วิศวกรรม  และการจัดการเพื่อการวางแผนพัฒนาและการใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อความสำเร็จของกลยุทธ์ และนำไปปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ประพนธ์ ผาสุกยิ่ง ( 2549 , หน้า1)  ให้ความหมายว่า  การจัดการเทคโนโลยี  หมายถึงวิทยาการ  วิธีการ  หรือกระบวนการในการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้  เพื่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  และมนุษย์ชาติในทางปฏิบัติ โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  มีมูลค่า และสามารถถือครองสิทธิ์ได้  สิน  พันธุ์พินิจ  ( 2549, หน้า1)  กล่าวว่า  การจัดการเป็นการจัดคนทำงานตามที่เราต้องการ ในขณะที่  การจัดการเทคโนโลยี  เป็นการจัดคนและเทคโนโลยีให้ทำงานด้วยกันตามที่เราต้องการ”  การจัดการเทคโนโลยี  จึงเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ “Know-how” อย่างเป็นระบบทั้งด้านวิชาการ (Tecnnical)  กับการจัดการ (Managerial)  เพื่อผลิตสินค้าและการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเกรนอร์ ( Gaynor , 1999, p.4)  ให้ความหมายว่า  การจัดการเทคโนโลยี  (Prienciples of Technology  Management)  หมายถึง  ความรู้ของการที่จะทำสิ่งต่างๆอย่างไร (How)  ให้เป็นระบบ  (System)  ที่สังคมพึงพอใจในการนำมาใช้  เพื่อให้ตรงตามความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต  โครี (Cory, อ้างถึงใน สิน  พันธุ์พินิจ,2549, หน้า1)  ได้กล่าวไว้ว่า  การจัดการเทคโนโลยี  หมายถึง  การประยุกต์ใช้ของงาน  11  งานเพื่อพัฒนาองค์กร งานทั้ง 11 รายการ ได้แก่  การจัดการงานวิจัย  การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์  การจัดการโครงการ  การบูรณาการงานทั้ง 3 เข้ากระบวนการผลิต  การควบคุมผลิตภัณฑ์  การควบคุมคุณภาพ  การออกแบบ  และการใช้ข้อมูลสารสนเทศ  การพัฒนา  Software  การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์  การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับการจัดการทั่วไปขององค์กร  และการบูรณาการความรู้วิชาการเทคโนโลยีเข้า กับการตัดสินใจทางธุรกิจ  และทางการเงินการลงทุน                ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  การจัดการเทคโนโลยี  คือ  วิธีการ  กระบวนการ  ในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ  เพื่อพัฒนาผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษย์ได้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล  ประหยัด  และเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน      การจัดการเทคโนโลยี  (Management of Technology  :  MOT การจัดการเทคโนโลยี  แท้จริงแล้ว คือการผสมผสาน  หรือองค์รวม  หรือจะเรียกว่าการบูรณาการก็ได้  เพราะจะต้องนำศาสตร์สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมตลอดจนการจัดการเข้าด้วยกัน  เทคโนโลยี เป็นฐานปัจจัยหลักในการพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์  แต่ทั้งนี้ต้องให้คำนึงถึงปัจจัยอีกประการ  คือการเพิ่มระดับความรู้  (Enhancement  of  Knowledge)  ทุนทางปัญญา  (Intellectual  Capital) การใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า  (Effective  Exploitation  of  Resource การรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ  สิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น  จะเห็นได้ว่าต้องมีการจัดการที่เป็นระบบและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์